Header image header image 2  

 
 
บทที่ 1 ทำงานมานาน เก็บตังค์ไม่ได้ ทำไงดีหว่า

 

"ทำงานมาตั้งนาน ไม่มีเงินเก็บเลย", "เงินเดือนก็ไม่น้อยแต่ใช้เงินชนเดือนทุก เดือน" หรืออีกหลาย ๆ คำพูดที่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องเงินไม่พอใช้, ไม่มีเงินเก็บ ทั้ง ๆ ที่ คนพูดเงินเดือนก็ไม่ใช่น้อย และอาจจะแปลกใจอีกว่าทำไมหลาย ๆ คนเงินเดือนไม่มากแต่มี เงินเก็บ ซื้อบ้าน, ซื้อรถได้ เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นการเฉลยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นครับ


สิ่งสำคัญที่สุดของการเก็บเงินคือ วินัยในการใช้เงิน และการจัดสรรค์รายจ่ายใน แต่ละเดือน สิ่งที่คนส่วนใหญ่ที่เงินไม่พอใช้และไม่มีเงินเก็บจะทำในวันเงินเดือนออกคือ เย็นนี้ฉลองกันที่ไหนดี, ทานข้าวเย็นกับแฟนในร้านแพง ๆ และต่อดูหนังอีกรอบ หรือไป ชอปปิ้งในงานมิดไนท์เซลดีกว่า


มีนักการตลาดอีกหลายคนที่เห็นโอกาสจากความคิดเหล่านี้ ดังนั้นจึงไม่ต้อง แปลกใจเลยว่าทำไมตามห้างสรรพสินค้ามักจะมีงานลดราคาสินค้า หรืองานเปิดตัวสินค้า ใหม่ตอนเงินเดือนออกทุกที ซึ่งนักการตลาดเหล่านี้ทราบว่า เมื่อเงินเดือนออก คนส่วนใหญ่ จะจับจ่ายกันอย่างเต็มที่ มารู้ตัวอีกทีก็เงินหมดกระเป๋า เท่ากับเดือนหน้าทั้งเดือน เหลือเงิน ที่จะกินและใช้จ่ายไม่เท่าไหร่


ระหว่างเดือนก็จะใช้ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียนเพื่อรอวันเงินเดือนออก และ เมื่อวันเงินเดือนออก วัฎจักรเก่าก็จะกลับมาอีก เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างนี้จะมีเงินเก็บ ได้อย่างไร


คราวนี้มาดูคนที่อาจจะมีเงินเดือนน้อย แต่มีตังค์เก็บทุกเดือนกันว่าเค้าทำ ตัวอย่างไรในวันเงินเดือนออก เริ่มต้นเค้าจะจัดเงินเป็นส่วน ๆ ก่อนดังนี้


-ก้อนแรกเพื่อรายจ่ายที่จำเป็นเช่น ผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำ, ค่า ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายจิปาถะ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราจะทราบคร่าว ๆ อยู่แล้วจากเดือนก่อน ๆ


-ก้อนที่สอง เพื่อเก็บออม เงินก้อนนี้ฝากธนาคารบัญชีฝากประจำ หรือซื้อกองทุน รวมไปเลยครับ เมื่อฝากเงินเข้าธนาคารแล้วก็ลืม ๆ ไปได้เลยครับ


-ก้อนที่สาม เพื่อรายจ่ายพิเศษที่อาจจะทราบตั้งแต่เดือนที่แล้วว่าเดือนนี้ต้อง จ่ายอะไรพิเศษ หรือเดือนนี้มีเทศกาลพิเศษอะไรที่ต้องซื้อของขวัญให้คนพิเศษ


-ก้อนสุดท้าย เพื่อปรนเปรอความสุขของตัวเองและคนที่เรารักครับ


สำหรับสัดส่วนการแบ่งนี้ก็แล้วแต่ละบุคคลนะครับ ว่าใครจำเป็นอะไรมากน้อยก็ แบ่งตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เมื่อแบ่งเป็นที่เรียบร้อย เมื่อรับเงินเดือนมาก็รีบ จัดการแบ่งทันทีครับ หลังจากนั้นก็กระจายเงินไปสู่ที่มันควรไปครับ เช่นฝากธนาคาร, ซื้อ กองทุน, ชำระค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ


แล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึงครับ เงินก้อนที่สี่ที่เราเผื่อไว้เพื่อปรนเปรอตัวเองก็จะ ได้ทำงานแล้วครับ เลิกงานหรือเสาร์อาทิตย์ที่หยุดงาน เอาให้เต็มที่เลยครับ ใช้ไม่ต้องยั้ง สนุกให้เต็มที่ หรืออาจจะแบ่งไปสนุกต่อในอาทิตย์อื่น ๆ อีกก็ได้ แต่มีข้อแม้นะครับว่าถ้าเงิน หมดในส่วนที่แบ่งไว้ต้องหยุด ห้ามนำส่วนอื่นมาชดเชยก่อนไม่ได้เด็ดขาด คราวนี้คุณจะได้ ใช้เงินอย่างมีความสุข เพราะคุณจะใช้เงินได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกังวลว่าถ้าใช้หมดจะไม่มีเงิน ใช้จ่ายระหว่างเดือน เพราะเรากันเงินไว้หมดแล้ว


ถ้าเราทำได้ทุกเดือน ก็จะเห็นแล้วว่าเราจะมีเงินเก็บแน่นอนทุกเดือน (จากก้อน ที่สองไง) แต่จะมากน้อย ขึ้นอยู่กับการแบ่งสัดส่วนของเราแล้วครับ และอีกเรื่องที่จะเตือนคือ ให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงครับ มีน้อยใช้น้อย อย่าไปแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับ คนอื่น คนที่เราต้องแข่งด้วยยืนอยู่หน้ากระจกเวลาเราส่องกระจกครับ คือตัวเราเอง เราจะ แข่งอะไรกับตัวเองล่ะ แข่งชนะใจตัวเองไงครับ ถ้าใจคุณ คุณยังชนะไม่ได้ ไม่ต้องคิดว่าจะ ไปชนะใครที่ไหนหรอกครับ บทหน้ามาดูกันนะครับว่าคนมีเงินเก็บเท่า ๆ กัน แต่คนแต่ละคน ให้เงินทำงานได้ไม่เหมือนกัน เราจะให้เงินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร พบกันบท หน้าครับ

JuSu / 14 กุมภาพันธ์ 2552
 
 
 


แนะนำสินค้าในกลุ่ม


หนังสือโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน
รู้อนาคตด้วยดวงดาว
โดย อ.เดชา ไพรัชกุล

read more >